CLOCK

Search

วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ระบบการจัดการบริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด (มหาชน)

ประวัติความเป็นมา

บริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทในกลุ่มผลิตภัณฑ์ สายอาหารในเครือบริษัท สหพัฒน์พิบูล จำกัด ที่ก่อตั้งโดย ดร.เทียม โชควัฒนา โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์สายอาหารของสหพัฒน์เป็นอีกหนึ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้รับ และประสบความสำเร็จอย่างสูง อาทิ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า และ บิสกิตนิสชิน ซึ่งทั้งสองผลิตภัณฑ์มีแป้งสาลีเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตทำให้มีแนวความคิด ที่จะขยายธุรกิจเข้าไปในสายขนมปังและเบเกอรี่ซึ่งใช้ แป้งสาลีเป็นวัตถุดิบเช่นกัน

ในสมัยนั้นผู้ประกอบการเบเกอรี่ส่วนใหญ่เป็นรายเล็กและดำเนินธุรกิจแบบ ครอบครัวผลิตภัณฑ์ ที่มีในตลาดก็ไม่มีคุณภาพมาตรฐานสม่ำเสมอ ขาด พัฒนาการทั้งในแง่ของตัวผลิตภัณฑ์ ระบบการจัดจำหน่ายและการจัดการที่ดี ความเข้าใจของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ที่มีคุณภาพมาตรฐานยังมีน้อย ขนาดของตลาดและความนิยมในการบริโภคเบเกอรี่ยังมีไม่มากนัก


อย่างไรก็ดี ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรม การผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรม ที่มีพื้นฐานมาจากด้านการเกษตร ประกอบกับวิถีการดำรงชีวิตของคนไทยได้เปลี่ยนแปลงไป ประชากรจากชนบทเคลื่อนย้ายเข้าสู่สังคมเมืองมากขึ้นประเทศเริ่ม มีบทบาททำให้มีชาวต่างชาติเคลื่อนย้ายเข้ามาในประเทศมากขึ้น ด้วยปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ล้วนสร้างโอกาสผลิตภัณฑ์เบเกอรี่สามารถตอบสนองวิถีชีวิตคนไทยได้ดียิ่งๆ ขึ้น

ดังนั้น บริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด จึงได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2525 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตและจัดจำหน่ายขนมปังและผลิตภัณฑ์ เบเกอรี่ที่มีคุณภาพมาตรฐานทัดเทียมสากลภายใต้ตรา "ฟาร์มเฮ้าส์"

ปรัชญาในการดำเนินงาน

บริษัทฯ มิได้ดำเนินธุรกิจเพียงเพื่อแสวงหาผลกำไรเท่านั้น แต่มีปรัชญาในการผลิตที่แสวงหา
คุณภาพ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุดโดยยึดหลักปฏิบัติ 4 ประการ คือ
1. ใชัวัตถุดิบดีที่สุด เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีที่สุด
2. พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสนองความต้องการทางโภชนาการของคนไทยอย่างไม่หยุดนิ่ง
3. พัฒนาเทคโนโลยีการผลิต และการจัดการ เพื่อสร้างคุณภาพให้ดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ
4. ยึดถือหลักความปลอดภัย สด สะอาด เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสิ่งที่ดีที่สุด

บริษัทฯ มีความตั้งใจในการรักษาความเป็นผู้นำในการผลิตและจำหน่ายขนมปัง และเบเกอรี่อื่นๆ ในลักษณะค้าส่งที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพสม่ำเสมอ รวมทั้งมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาสินค้าใหม่เพิ่มเติม เพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น เป็นการขยายตลาดไปยังกลุ่มผู้บริโภคใหม่ๆ รวมทั้งพัฒนาสินค้าเดิมให้มีมูลค่าเพิ่มให้สามารถตอบสนองความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา


วิสัยทัศน์ (Vision)

เป็นผู้นำในการผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ทุกประเภท ที่สามารถสร้างความนิยม
และความพึงพอใจสูงสุดให้กับผู้บริโภค

ภารกิจ (Mission)


1. มุ่งมั่นพัฒนาและผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐาน ทั้งคุณภาพ ความปลอดภัย และคุณค่า
ทางโภชนาการ
2. ใช้เทคโนโลยีในการผลิตที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง
3. พัฒนาระบบบริหาร และการจัดการที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
4. สร้างความเชื่อมั่นและความพึงพอใจให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง


การผลิต

โรงงานของบริษัทฯ ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง บนพื้นที่รวม 12 ไร่ 2 งาน 40ตร.วา โดยแบ่งเป็น 3 อาคาร พื้นที่ใช้สอยรวม 26,680 ตารางเมตร ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของบริษัทฯ ผลิตจากโรงงานแห่งนี้เพียงแห่งเดียวเท่านั้น โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยและดีที่สุดจากหลายๆ ประเทศ เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี อิตาลี และสวิตเซอร์แลนด์ เป็นต้น สินค้าที่ผลิตออกมาจึงมีคุณภาพสม่ำเสมอเป็นมาตรฐานเดียวกัน พร้อมต่อการจัดจำหน่ายทั่วภูมิภาคของประเทศไทยได้วันต่อวัน
บริษัทฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของคุณภาพที่ดีของสินค้าที่ผู้บริโภคจะได้รับเป็นสิ่งสำคัญดังนั้น บริษัทฯ จึงเข้มงวดกับทุกขั้นตอนการผลิตเริ่มตั้งแต่การรับวัตถุดิบ จนถึงการส่งสินค้าสำเร็จรูปออกจากโรงงาน นอกจากนี้ ได้มีการนำเทคโนโลยีการผลิตที่ดีและทันสมัย สามารถผลิตสินค้าที่ดีที่สุด และมีคุณภาพมาตรฐานสม่ำเสมอมาติดตั้งในทั้งสามอาคารผลิต ไม่เพียงแต่ความทันสมัยของกระบวนการผลิตเท่านั้น ในเรื่องของวิศวกรรมโครงสร้างและการออกแบบตัวอาคารก็เป็นสิ่งที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ง่ายต่อการควบคุมดูแล และคำนึงถึงความเพียงพอของแสงสว่างและระบบหมุนเวียนอากาศที่ดีภายในโรงงาน

การควบคุมคุณภาพ


การควบคุมคุณภาพเป็นสิ่งที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญอย่างมาก โดยบริษัทฯ มีแผนกควบคุมคุณภาพ (Quality Control) ซึ่งจะทำหน้าที่ในการตรวจสอบคุณภาพของทุกขั้นตอนการผลิตตั้งแต่การรับวัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์และวัสดุต่างๆ ที่ใช้สำหรับการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมและถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของ "หลักปฏิบัติที่ดีในการผลิต" หรือ GMP (Good Manufacturing Practices) และการรับรองระบบ "การวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม" หรือ HACCP (Hazard Analysis and Crittical Control Point) ซึ่งการควบคุมคุณภาพนี้ยังได้ทำกลับไปจนถึงต้นทางได้แก่ การตรวจสอบมาตรฐานการผลิตของ Supplier ผู้ขายวัตถุดิบบรรจุภัณฑ์และวัสดุต่างๆ เหล่านั้นให้แก่บริษัทฯ

นอกจากนี้ ในทุกๆ ขั้นตอนการผลิตของกระบวนการผลิตจะต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องของวิธีการผลิต รวมถึงผลิตภัณฑ์ในแต่ละขั้นตอนจนเป็นสินค้าสำเร็จรูปตามมาตรฐานที่วางไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรฐานในเรื่องความปลอดภัย สด สะอาดของสินค้า วัตถุดิบหรือสินค้าสำเร็จรูปในที่ไม่ได้มาตรฐานจะต้องถูกคัดออก ซึ่งขั้นตอนการตรวจสอบต่างๆ เหล่านี้ รองรับด้วยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ เทคโนโลยีการตรวจสอบและวิเคราะห์ตลอดจนห้องปฏิบัติการที่มี ความพร้อมของเครื่องมือที่ทันสมัยและมีความถูกต้องในการวิเคราะห์ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นหลักประกันคุณภาพสินค้าที่ดีของบริษัทฯ ตลอดมา นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้รับใบอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เอกชน ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

ผลิตภัณฑ์

ขนมปังชนิดแผ่น
ขนมปัง แฮมเบอเกอร์และขนมปังฮอตดอก
Snack Bread
Confectionery

แผนผังองค์กร


บทบาทและหน้าที่ของแต่ละฝ่ายในบริษัท

1. ฝ่ายขาย

มีหน้าที่ ในการขายสินค้าของบริษัท , ดูแลรับผิดชอบฐานลูกค้าเดิมและขยายฐานลูกค้าใหม่เพื่อต้องการจำหน่ายสินค้าให้บริษัท โดยฝ่ายขายจะมีการเก็บข้อมูลของลูกค้าที่มาซื้อทั้งหมดและข้องมูลของสินค้าที่ขาย

ปัญหาภายใน

1. เอกสารต่าง ๆ มีจำนวนมาก เอกสารต่าง ๆ มีดังนี้
1.1 เอกสารข้อมูลลูกค้า
1.2 เอกสารการสั่งซื้อสินค้า
1.3 เอกสารการขาย รวมถึงรายละเอียดของตัวสินค้าที่ขาย
1.4 รายละเอียดการรับประกันของสินค้า

2. เอกสารต่าง ๆ ถูกค้นหาได้ยาก เพราะการจัดเก็บที่ไม่เป็นระเบียบ
3. เปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร เนื่องจากเอกสารมีเยอะต้องจัดเก็บหลายที่
4. ข้อมูลเกิดการซ้ำซ้อน เพราะ บางครั้งลูกค้า 1 ท่าน อาจซื้อสินค้า หลายครั้ง และฝ่าย
ขายมีการเก็บข้อมูลทุกครั้ง เอกสารจึงเกิดความซ้ำซ้อน

2. ฝ่ายบัญชี

มีหน้าที่จัดสรรงบประมาณและดูแลรายรับรายจ่ายของบริษัท แล้วจึงนำเสนอให้ผู้บริหาร มีการรับข้อมูลจากฝ่ายขาย

ปัญหาภายใน

1. เอกสารต่าง ๆ มีจำนวนมาก
2. ค้นหาเอกสารได้ยาก เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากและยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ
3. เอกสารสูญหายเพราะ เอกสารมีมาก และจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ อาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทได้
4. การทำงบประมาณการเงินทำได้ยาก เพราะเอกสารมีจำนวนมากและจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ
3. ฝ่ายผลิต

มีหน้าที่ผลิตสินค้าของบริษัทที่จะออกจำหน่าย และทำการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพผ่านตามมาตรฐานที่บริษัทวางไว้และนำเก็บเข้าคลังสินค้าเพื่อทำการสต็อกสินค้าเอาไว้จำหน่าย

ปัญหาภายใน

1. ฝ่ายผลิตสินค้าไม่ทราบจำนวนของสินค้าที่ต้องการผลิตตามความเหมาะสม
2. ค้นหาเอกสารข้อมูลสินค้าได้ยาก เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากและยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ
3. ฝ่ายคลังสินค้าไม่ทราบจำนวนสินค้าภายในคลังสินค้าอาจไม่พอหรือว่ามีจำนวนสินค้ามากเกินไป เนื่องจากไม่สามารถเช็คได้ว่าในคลังสินค้ามีจำนวนสินค้าอยู่เท่าไร

4. ฝ่ายขนส่ง

มีหน้าที่ ขนส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าให้ตรงตามเวลา และสถานที่ที่กำหนด เพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ โดยรับสินค้าจาก ฝ่ายผลิตและคลังสินค้า

ปัญหาภายใน

1. ข้อมูลมีความแตกต่าง เนื่อง ลูกค้ามีการสั่งซื้อสินค้ามาก จึงต้องมีการจัดส่งสินค้าหลายที่ ทำให้ไม่ทราบลำดับในการจัดส่งสินค้าที่ถูกต้อง
2. เอกสารข้อมูลสินค้ามีจำนวนมาก เนื่องจากสินค้ามีหลายชนิดและหลายขนาด ทำให้การจัดเก็บเอกสารไม่เป็นระเบียบ
3. ระยะเวลาในการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าอาจใช้เวลานานเนื่องจากต้องมีการค้นหาข้อมูลลูกค้าก่อน

5. ฝ่ายบุคคล

มีหน้าที่ในการจัดการดูแล งานด้านการบริหารบุคคลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรับพนักงาน การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน การลงโทษนักงาน ในองค์กร

ปัญหาภายใน

1. เอกสารมีจำนวนมาก ทำให้ยากต่อการจัดเก็บ
2. การค้นหาเอกสารเป็นไปได้ยาก เนื่องจากไม่มีการจัดเก็บเอกสารอย่างเป็นระบบ

ปัญหาระบบการทำงานเดิม

1. เอกสารยากต่อการจัดเก็บ และง่ายต่อการสูญหาย
2. มีการใช้ระบบการทำงานแบบบันทึกข้อมูลลงในเอกสาร จึงทำให้เปลืองค่าใช้จ่าย
3. ยากต่อการค้นหาข้อมูลลูกค้า
4. ขาดความแม่นยำ และความถูกต้องของข้อมูลต่าง ๆ

6. ฝ่ายคลังสินค้า

มีหน้าที่ในการตรวจสอบสินค้าและรับข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า จากแผนกขายสินค้าเพื่อส่งไปยังแผนกจัดส่ง

ปัญหาภายใน

1.เอกสารข้อมูลสินค้ามีจำนวนมาก เนื่องจากสินค้ามีหลายชนิดและหลายขนาด ทำให้การจัดเก็บเอกสารไม่เป็นระเบียบ
2. เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร เพราะเอกสารทุกชนิดจะจัดเก็บภายในแฟ้ม
3. ค้นหาเอกสารข้อมูลสินค้าได้ยาก เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากและยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ

ปัญหาระหว่างฝ่ายแต่ละฝ่าย

ปัญหาระหว่างฝ่ายขายและฝ่ายคลังสินค้า

1. ฝ่ายขายไม่ทราบจำนวนสินค้าที่มีอยู่ในคลังสินค้า ทำให้ยากต่อการขายสินค้าให้กับลูกค้า
2. ฝ่ายผลิตและคลังสินค้าไม่ทราบการผลิตและการสต็อกสินค้าที่เหมาะสม
3. ฝ่ายขายไม่แจ้งการสั่งซื้อสินค้าหรือการจองสินค้าของลูกค้าทำให้ฝ่ายผลิตและคลังสินค้าไม่สามารถจัดทำสินค้าได้ตามความต้องการ

ปัญหาระหว่างฝ่ายขายและฝ่ายขนส่ง

1. ฝ่ายขนส่งไม่ทราบข้อมูลที่ชัดเจนในการขนส่งสินค้าให้ลูกค้า เช่น สถานที่ ชื่อลูกค้าที่สั่งสินค้า เป็นต้น เนื่องจากฝ่ายขายไม่แจ้งให้แผนกขนส่งทราบข้อมูล

ปัญหาระหว่างฝ่ายขายและฝ่ายบัญชี

1. ฝ่ายขายไม่แจ้งจำนวนเงินในการจำหน่ายสินค้าให้ฝ่ายบัญชีและการเงินทราบ ทำให้ฝ่ายบัญชีและการเงินไม่สามารถจัดทำงาบประมาณการเงินได้
2. ฝ่ายขายทำเอกสารในการสั่งซื้อสูญหาย ฝ่ายบัญชีจะไม่ทราบยอดการสั่งซื้อ
3. ฝ่ายขายทำเอกสารใบชำระเงิน ของลูกค้าสูญหายแผนกบัญชีก็จะไม่ทราบว่าลูกค้าจ่ายเงินหรือยัง

ปัญหาระหว่างฝ่ายบุคคลและฝ่ายผลิต

1. บุคลากรในโรงงานที่ทำการผลิตสินค้าขาดประสบการณ์ในการผลิตสินค้า ทำให้สินค้าออกมาไม่ได้มาตรฐานตามที่บริษัทกำหนด
2. บุคลากรในโรงงานไม่เพียงพอในการทำงาน เพราะฝ่ายผลิตและคลังสินค้าไม่แจ้งความต้องการไปยังฝ่ายบุคคลากรว่าต้องการบุคคลากรเพิ่ม

ปัญหาระหว่างฝ่ายบัญชีและ คลังสินค้า

1. ฝ่ายคลังสินค้าไม่ได้แจ้งยอดการคลังสินค้าให้แผนกบัญชีทราบ ฝ่ายบัญชีก็ไม่สามารถทำงบการเงินได้ เพราะจะต้องทราบยอดสินค้าคงเหลือของแต่ละงวด

ปัญหาระหว่างฝ่ายบัญชีและฝ่ายส่งสินค้า

1. ถ้าฝ่ายจัดส่งสินค้าไม่ส่งสินค้าให้กับลูกค้า แล้วไม่แจ้งการชำระเงินของลูกค้าให้ฝ่ายบัญชีทราบ ฝ่ายบัญชีก็จะไม่ทราบว่าลูกค้าชำระเงินแล้ว

ลักษณะของสถานประกอบการหรือแหล่งรายรับ-รายจ่าย

• รายรับที่ทางบริษัทได้รับคือ ได้จากการขายสินค้าต่าง ๆของบริษัทให้กับลูกค้า
• รายจ่ายของทางบริษัทเกิดจากรายจ่ายต่าง ๆ ดังนี้
- การจ่ายเงินของพนักงานในบริษัท
- การซ่อมบำรุงเครื่องจักรในโรงงานที่ใช้ในการผลิต
- การชะรำค่าน้ำมันในการขนส่ง
- การจัดหาซื้ออุปกรณ์ในการผลิต
- การจัดหาอุปกรณ์สำนักงานต่าง ๆ ของบริษัท

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาระบบใหม่

เป็นการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดการและแก้ไขปัญหาในระบบการทำงานแบบเดิม ซึ่งมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อให้มีความสะดวกและรวดเร็วกว่าระบบงานเดิม
2. เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ จัดเก็บ ค้นหาข้อมูลและลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
3. เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการจัดการในฝ่ายต่าง ๆ ของบริษัท
4. เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง และเชื่อถือได้

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. การทำงานจะมีความสะดวกและรวดเร็วกว่าระบบงานเดิม
2. ไม่เกิดการซ้ำซ้อนของข้อมูลเพราะมีการจัดการ จัดเก็บ ข้อมูลที่ดีกว่าเดิม
3. สามารถแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ ของแต่ละแผนกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ข้อมูลที่ได้มีความถูกต้องและเชื่อถือได้ เพื่อลดความผิดพลาดในการทำงาน
ขอบเขตในการพัฒนาระบบ

1. ระบบการขาย
2. ระบบการผลิต
3. ระบบการพัฒนาบุคคลากร
4. ระบบบัญชี

การประเมินความต้องการของบริษัท

ตาราง 1 แสดงรายการการทำงาน(Functions) หรือกิจกรรมทั้งหมดของบริษัท

แสดงการจำแนกกิจกรรม(Activites) ของหน้าที่ของการทำงาน (Functions) ในบริษัท
Business Functions Supporting Functions


รูปที 2. แสดงการจำแนกกิจกรรม(Activity) ของหน้าที่ของการทำงาน (Functions) ในบริษัท



ตารางที่ 2 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่และหน่วยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนการค้นหาและเลือกสรรโครงการ
(Project Identification and Selection)

1. ค้นหาโครงการที่ต้องการพัฒนา

จากการค้นหาโครงการของแผนกต่าง ๆ สามารถรวบรวมโครงการพัฒนาระบบได้ทั้งหมด 4
โครงการดังนี้


2. จำแนกและจัดกลุ่มโครงการที่ค้นหามา

โครงการทั้ง 4 ที่สามารถค้นหามาได้ มีวัตถุประสงค์ของโครงการที่แตกต่างกันดังนี้

- โครงการพัฒนาระบบการขาย
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การทำงานของบริษัทมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เริ่มตั้งแต่การจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ เช่น รายระเอียดลูกค้า รายละเอียดการขายสินค้า รวมถึงการบริการต่าง ๆ แล้วทำการกระจายข้อมูลไปยังฝ่ายต่าง ๆ ที่ต้องการข้อมูลในส่วนนั้น ๆ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

- โครงการพัฒนาระบบคลังสินค้า
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริษัทมีจำนวนสินค้าที่เหมาะสมแก่การจำหน่าย โดยมีการเก็บข้อมูลจากฝ่ายขาย ว่าบริษัทมีการประมาณการจำหน่ายสินค้าอย่างไรและนำมาทำการ วิเคราะห์เพื่อผลิตสินค้า และคงคลังให้พอเหมาะ ซึ่งจะทำให้สามารถคาดคะเนการผลิตได้ถูกต้อง

- โครงการพัฒนาบุคลากรในการทำงาน
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของตัวเอง และมีการอบรม สัมมนาให้บุคลากรทำงานในหน้าที่ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อให้บริษัทมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

- โครงการพัฒนาระบบจัดสรรงบประมาณของบริษัท
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริษัทมีงบประมาณที่ใช้อย่างเหมาะสม และสามารถทราบยอดรายรับ-รายจ่าย ของบริษัทเพื่อทราบต้นทุนกำไรของบริษัทได้

เมื่อพิจารณาวัตถุประสงค์ของโครงการทั้ง 4 แล้ว พบว่าล้วนแล้วแต่ให้ประโยชน์กับบริษัทจึงจำเป็นต้องคัดเลือกโครงการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันของบริษัทมากที่สุด ดังนั้นจึงเริ่มต้นด้วยการนำโครงการทั้ง 4 มาเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ของบริษัทเพื่อค้นหาโครงการที่ตรงตามวัตถุประสงค์มากที่สุด และสามารถบรรลุเป้าหมายสูงสุดของบริษัทได้ ดังรายละเอียดของตารางต่อไปนี้


3. เลือกโครงการที่เหมาะสม (Selecting)

จากตารางเปรียบเทียบโครงการตามวัตถุประสงค์ของบริษัทพบว่าโครงการพัฒนาระบบการขายตรงตามวัตถุประสงค์ของบริษัทมากที่สุด แต่เนื่องจากเมื่อพิจารณาถึงงบประมาณและสถานการณ์ปัจจุบันของบริษัทแล้วเห็นควรว่าจะต้องนำโครงการทั้ง 4 มาพิจารณาตามข้อจำกัดเพิ่มเติมได้แก่ ขนาดของโครงการ และผลประโยชน์ที่จะได้รับ เนื่องจากหากโครงการใดมีขอบเขตกว้างหรือมีขนาดใหญ่หมายถึงต้องใช้งบประมาณสูง ทำให้เกิดต้นทุนสูงซึ่งปัจจุบันบริษัทยังไม่สามารถทำได้ แสดงรายละเอียดในตารางต่อไปนี้



การเสนอแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งาน

แนวทางเลือกเพื่อนำสูตรขนมใหม่มาใช้งาน โดยจะบอกถึงรายระเอียดของระบบที่จะพัฒนามีดังนี้ ระบบการขาย ระบบงานคลังสินค้า ระบบบัญชี ระบบจัดส่งสินค้า โดยมีแนวทางเลือกจำนวนทั้งสิน 2 ทางเลือก
1.จ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบใหม่
2.ให้ทีมงานของเราพัฒนาระบบเอง

ทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้ที่ดีที่สุด


แนวทางเลือกในการทำระบบใหม่



ค้นหาและสร้างแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งาน


สรุปผลการประเมินโดยทีมงานผู้บริหาร

ทางทีมงานผู้บริหารได้พิจารณาตัดสินใจเลือกแนวทางใช้ทีมงานเดิมพัฒนาระบบเอง
เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด นอกจากนี้ยังจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานหรือรองรับการเปลี่ยนแปลงการทำงานในระบบได้ และสามารถคอยกำกับดูแลการทำงานให้ตรงไปตามวัตถุประสงค์ได้อย่างที่วางไว้

การวางแผนโครงการ
(Project Planning)

เป้าหมาย

นำระบบสาระสนเทศมาใช้เพื่อบริหารเวลาการทำงานในบริษัทเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการทำงานและบริหารเวลาในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์

โครงการพัฒนาระบบจัดการตารางเวลามีวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานเพื่อวิเคราะห์ออกแบบ และพัฒนาให้เป็นระบบจัดการตารางเวลาที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้

ขอบเขตของระบบ

โครงการพัฒนาระบบจัดการตารางเวลาได้มีการจัดทำขึ้นโดยทีมงานพัฒนาสารสนเทศภายในบริษัทเอง(In-House Development) พร้อมนี้ได้กำหนดขอบเขตของระบบนี้มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ระบบจะต้องแบ่งการทำงานอย่างชัดเจน แต่ข้อมูลสามารถเชื่อมโยงกันได้
2. ระบบจะต้องรองรับการทำงานแบบ Multi-User ได้
3. ระบบจะต้องใช้งานง่ายและสะดวก

ความต้องการในระบบใหม่

ความต้องการในระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้ คือ
1. ความรวดเร็วของระบบใหม่ในการทำงาน
2. สามารถเพิ่ม แก้ไข เปลี่ยนแปลงเวลาการทำงานให้เหมาะสม
3. การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานทุกฝ่ายเช่น บัญชี การขาย คลังสินค้า ขนส่ง ควบคุมคุณภาพ จัดซื้อ ซ่อมบำรุง ออกแบบและผลิต เป็นต้น
4. การจัดทำตารางเวลาการทำงานที่สะดวกรวดเร็ว

ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบใหม่

1. องค์กรสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้
2. องค์กรสามารถตัดสินใจในการจัดจำหน่ายสินค้าได้
3. องค์กรมีผลการดำเนินการที่ดีขึ้น
4. ขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่ที่มีความรวดเร็ว
5. ขั้นตอนการซื้อ-ขายสินค้า มีความถูกต้อง ชัดเจนและรวดเร็วในการทำงาน
6. การทำงานของพนักงานเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
7. สามารถรองรับการขยายตัวของบริษัทต่อไปได้
8. ทำให้ลูกค้ามีความพึงพอใจในการซื้อสินค้า และมอบความน่าเชื่อถือให้บริษัท

แนวทางในการพัฒนา

การพัฒนาระบบของ บริษัท เพรสิเดนท์ เบเกอร์รี่ จำกัด เป็นการพัฒนาระบบในส่วนของการจัดการตารางเวลาในการทำงานและในส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น การทำงานของพนักงานในแต่ละส่วนงานมีการใช้ระยะเวลาในการทำงานเท่าไหร่ ซึ่งบางครั้งการทำงานขั้นตอนต่าง ๆ อาจจะมีระยะเวลาในการทำงานที่ทับซ้อนกับงานในส่วนอื่นๆ หรือในบางครั้งมีการทำงานเกินระยะเวลาที่กำหนด ดังนั้นจึงได้มีการวิเคราะห์ระบบใหม่เพื่อความสะดวกและมีประสิทธิภาพในการทำงานก่อนที่เราจะมาวิเคราะห์ระบบเราจะต้องทำการจำลองหรือศึกษาขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่และข้อมูลทั้งหมดว่า ระบบที่เราต้องการวิเคราะห์เหมาะสมกับระบบการทำงานเดิมของบริษัท

แผนการดำเนินงานของโครงการ

แผนการดำเนินงานของโครงการที่ต้องการวิเคราะห์ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลง คือ ระบบจัดการตารางเวลา และส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้

- ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ
- ประมาณการใช้ทรัพยากร
- ประมาณการใช้งบประมาณ
- ประมาณระยะเวลาดำเนินงาน

ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ

ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการที่ได้รับมอบหมาย อาจจะเป็นบุคคลที่มีความรู้ในด้านของระบบที่ต้องการเปลี่ยนแปลงที่ทำงานอยู่ในบริษัทหรือทางบริษัทจ้างให้ทำการวิเคราะห์ระบบ ซึ่งบุคคลจะต้องดำรงตำแหน่งเกี่ยวกับการดูแลระบบ เช่น

1. นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ เป็นบุคคลที่มีความรู้ในเรื่องของการทำงานของระบบสารสนเทศที่นำมาใช้ ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ตลอดจนเก็บรวบรวมข้อมูลและติดต่อประสานงานระหว่างผู้ใช้ พนักงานหรือทีมโปรแกรม จำทำเอกสารของระบบรวมถึงการทดสอบโปรแกรมของระบบ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

2. โปรแกรมเมอร์ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ 2 คน ทำหน้าที่ในการเขียนและติดตั้งโปรแกรมของระบบที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลง รวมทั้งทดสอบโปรแกรมของระบบใหม่
ประมาณการใช้แหล่งทรัพยากร

จากดังกล่าวเราอาจจะมีการแบ่งงานออกเป็นทีมหรือว่ามีการระบุหน้าที่ให้แต่ละฝ่ายหรือแต่ละคนทราบ เพื่อที่งานจะประสบผลสำเร็จ ปัจจุบันทางบริษัทได้มีการใช้ระบบเครือข่าย LAN อยู่แล้วหรือเครือข่ายที่มีความเร็วสูงกว่านี้ มีรายละเอียดพอเข้าใจดังนี้

1. เครื่องแม่ข่าย(Server) จำนวน 3 เครื่อง
2. เครื่องลูกข่าย(Workstation) จำนวน 60 เครื่อง
3. เครื่องพิมพ์(Printer) จำนวน 8 เครื่อง

ปัจจุบันทางบริษัทได้นำเทคโนโลยีหลายอย่างมาใช้ในการบริหารงาน ซึ่งปัจจุบันมีรายละเอียดดังนี้

1. ระบบโปรแกรม 1 ระบบ
2. เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและลูกข่ายตามจำนวนที่บริษัทต้องการ
3. บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการทำงานของโปรแกรม
4. อุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบ




สรุปแล้วงบประมาณที่ใช้พอสรุปในของแต่ละฝ่ายได้ดังนี้

1. ในส่วนของผู้บริหาร

- ค่าตอบแทนสำหรับทีมงานพัฒนา
- นักวิเคราะห์และออกแบบระบบโปรแกรมเมอร์ 75000

2. แผนกทุกแผนกที่มีการเปลี่ยนแปลงระบบ

- ค่าการฝึกอบรมพนักงานใหม่เกี่ยวกับระบบใหม่ 30000

3. การจัดซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ

- เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่ใช้ในการลงระบบ 40000
- อื่น ๆ 5000

ประมาณการใช้งบประมาณ

จากรายการดังกล่าวเป็นเพียงการประมาณค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ ที่ทางองค์กรจ่ายในการปรับปรุงระบบ ซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายมากกว่านี้ที่ใช้เพราะในแต่ละองค์กรจะมีหลายแผนกในการทำงานและงานในแต่ละระบบจะมีขั้นตอนที่ซับซ้อนมาก ดังนั้นค่าใช้จ่ายจึงไม่เท่ากัน

ประมาณการระยะเวลาดำเนินงาน

ระยะเวลาในการดำเนินงานการวิเคราะห์ระบบของบริษัท เพรซิเดนท์ เบอร์เกอรี่จำกัด จำกัด
ที่ต้องการนำระบบมาใช้ในการทำงานในส่วนของระบบจัดการตารางเวลาเพื่อความสะดวกในส่วนของการทำงานภายในบริษัท ซึ่งก่อนที่จะได้เริ่มทำงานนั้นเราจะต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาถึงขั้นตอนต่าง ๆ เป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือน คือเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง พฤศจิกายน 2552 ซึ่งสามารถแสดงรายละเอียดการดำเนินงานได้ดังนี้



จากดำเนินการดังกล่าวระยะเวลาที่ใช้จริงๆในการวิเคราะห์อาจจะไม่พอแต่เพื่อเป็นการสรุปอย่างคร่าว ๆ ว่าเราได้ดำเนินการอะไรไปบ้างและระบบใหม่ที่ได้จะเสร็จภายในกี่วัน ซึ่งเราก็ได้ยกตัวอย่างไปแล้ว

รายงานสรุปผลสำหรับผู้บริหาร

จากการศึกษาปัญหาที่พบจากระบบเดิมของบริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด ส่วนใหญ่บริษัทจะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้แล้วบางส่วนแต่บางระบบก็ต้องการระบบที่มีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น ดังนั้นทางบริษัทจึงต้องมีการจัดทำระบบใหม่ขึ้น เมื่อเราทำการวิเคราะห์ระบบแล้วขั้นตอนต่าง ๆ ที่เราได้ทำก็จะจัดทำรายงานสรุปผลสำหรับผู้บริหารเพื่อให้ทราบขั้นตอนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ซึ่งจะมีขั้นตอนประกอบย่อย ๆเพื่อความเข้าใจง่าย 4 ด้านดังนี้

1. ความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค
ในส่วนนี้อาจจะเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ขอระบบเดิมว่ามีการใช้ส่วนใดบ้างเช่นโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อใช้งานในด้านต่าง ๆ และอุปกรณ์อื่น ๆ

2. ความเป็นไปได้ทางด้านการปฏิบัติงาน
ทำการศึกษาด้านต่างๆในการปฏิบัติงานของผู้ใช้ของระบบใหม่ที่จะนำมาใช้กับบริษัทซึ่งขั้นตอนนี้จะเกี่ยวกับการทดสอบ การทดลองของระบบว่าระบบใหม่นี้มีผลต่อการทำงานของบริษัทอย่างไร
จากการทำงานของนักวิเคราะห์ระบบผลที่ได้ประสบผลสำเร็จระบบที่ได้เป็นที่ตรงตามความต้องการของบริษัท

การกำหนดความต้องการของระบบ

การกำหนดความต้องการของระบบ

เมื่อโครงการพัฒนาระบบจัดการตารางเวลา ได้รับการอนุมัติจากการนำเสนอโครงการในขั้นตอนที่ผ่านมา ดั้งนั้นจึงเริ่มต้นด้วยความการเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบเดิม ในการกำหนดความต้องการครั้งนี้ ทีมงานเลือกใช้วิธีการออกแบบสอบถาม (Questionnaire)

ออกแบบสอบถาม (Questionnaire)

บุคคลผู้ตอบแบบสอบถามคือผู้จัดการแผนกต่างๆ การใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลในส่วนที่ต้องการพัฒนา เนื่องจากทีมงานสามารถควบคุมหัวข้อคำถามที่ต้องการรายละเอียดได้มากกว่าการสัมภาษณ์ ไม่ต้องมีกาจดบันทึก ไม่รบกวนเวลาทำงานของผู้จัดการแผนกต่างๆมากนัก สามารถเก็บข้อมูลได้มากตามการตั้งคำถามในแบบสอบถาม อีกทั้งผู้ตอบแบบสอบถามจะรู้สึกมีอิสระในการให้ข้อมูล


ข้อมูลและเอกสารของระบบงานเดิมที่รวบรวมได้

จากการที่ทีมงานได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากแผนกต่างๆ ด้วยวิธีการออกแบบสอบถาม สามารถสรุปข้อมูลที่ได้รับดังนี้
1. ข้อมูลระบบการทำงานของแต่ละแผนก
2. ความเหมาะสมของเวลาการทำงานต่อคนต่องาน
3. ระยะเวลาของแต่ละส่วนงานที่ได้รับ
แบบจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ (Process Modeling)
ขั้นตอนการวิเคราะห์ความต้องการของระบบใหม่
(System Requirement Structuring)


จำลองขั้นตอนการทำงานของระบบด้วย DFD

จากการวิเคราะห์ความต้องการระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้จากผู้ใช้ระบบ โดยสามารถจำลองได้ด้วยแผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram : DFD) ได้ดังนี้




อธิบาย Context Diagram

จาก Context Diagram ของระบบการขายซึงสัญลักษณ์ Process จะใช้แทนการทำงานทุกขั้นตอนของระบบนี้ โดย External Agents ที่เกี่ยวข้องกับระบบการขายนี้ได้แก่ ลูกค้า พนักงาน และผู้จัดการ ซึ่งมีข้อมูลรับเข้าและส่งออกระหว่าง External Agents ดังกล่าวกับระบบทำให้ทราบโดยภาพรวมว่าระบบการขายนี้ทำอะไรได้บ้าง และเกี่ยวข้องกับใครบ้าง (แต่จะไม่ทราบว่าทำอย่างไร) สามารถอธิบายเอกสารข้อมูลที่อยู่บน Data Flows เข้าและออกระหว่าง External Agents ของระบบได้ดังนี้

1. ลูกค้า
- ส่งข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า และข้อมูลการสั่งซื้อสินค้าเข้าสู่ระบบ
- ภายในระบบจะมีขั้นตอนต่างๆ ในการจัดการการสั่งซื้อจึงสามารถแสดงใบเสร็จสินค้า ให้กับลูกค้าได้

2. พนักงาน
- เมื่อได้รับข้อมูลลูกค้าและข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า พนักงานจะส่งรายการสั่งซื้อและข้อมูลการตรวจสอบสินค้า
- เมื่อระบบทำงานเรียบร้อยจะแจ้งข้อมูลลูกค้า ข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า และใบเสร็จให้กับพนักงาน

3. ผู้จัดการ
- เมื่อผู้จัดการต้องการทราบข้อมูลต่าง ๆ จะส่งข้อมูลที่ต้องการค้นหาเข้าสู่ระบบ
- เมื่อระบบทำการประมวลผลเรียบร้อยจะส่งข้อมูลที่ผ่านการปรับปรุง และรายงานต่าง ๆ ให้กับผู้จัดการ
DFD LEVEL 0



อธิบาย DFD LEVEL 0

จาก Context Diagram ทีมงานสามารถแบ่งขั้นตอนการทำงานภายในระบบการขายออกเป็น 5 ขั้นตอน (Process) ด้วยการวิเคราะห์จากความต้องการของผู้ใช้ (User Requirements) ที่รวบรวมมาได้ ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น โดยการแบ่งแยกแต่ละ Process ตามหมวดหมู่ของข้อมูล ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. Process 1 ปรับปรุงแฟ้มข้อมูลหลัก เป็นระบบการขายที่จัดการข้อมูลทั้งหมดของระบบ สามารถอธิบายข้อมูลเข้าและออกจาก Process ดังต่อไปนี้

- เมื่อพนักงานต้องการปรับปรุงข้อมูลหรือว่าเรียกดูข้อมูลที่ต้องการจะส่งข้อมูลที่ต้องการปรับปรุงเรียกดูเข้าสู่ระบบจากนั้น Process จะทำการดึงข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลลูกค้าหรือแฟ้มข้อมูลสินค้า มาทำการปรับปรุง เมื่อทำการปรับปรุงเรียบร้อย Process จะส่งข้อมูลไปจัดเก็บในแฟ้มข้อมูลเดิม ข้อมูลที่ได้ผ่านการปรับปรุงเรียกดู Process จะทำการส่งข้อมูลที่พนักงานต้องการเรียกดูไปให้กับพนักงาน

2. Process 2 สืบค้นสินค้า เป็นระบบการขายที่ทำการค้นหาข้อมูลสินค้า สามารถอธิบายข้อมูลเข้าและออกจาก Process ดังต่อไปนี้
- เมื่อลูกค้าต้องการสืบค้นข้อมูลสินค้า ลูกค้าจะทำการส่งรายการที่ต้องการค้นหาเข้าสู่ระบบ จากนั้น Process จะทำการดึงข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลสินค้าแล้วระบบจะทำการแสดงรายการที่ลูกค้าค้นหาให้แก่ลูกค้า

3. Process 3 สั่งซื้อสินค้า เป็นระบบการขายที่จัดการข้อมูลเกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้า สามารถอธิบายข้อมูลเข้าและออกจาก Process ดังต่อไปนี้
- เมื่อลูกค้าต้องการสั่งซื้อสินค้าจะส่งรายการสั่งซื้อสินค้าเข้าสู่ระบบ จากนั้น Process จะทำการประมวลผล เมื่อประมวลผลเสร็จเรียบร้อยจะนำข้อมูลไปบันทึกที่แฟ้มข้อมูลการสั่งซื้อและจะส่งใบสั่งซื้อสินค้าไปให้ลูกค้า

4. Process 4 ระบบชำระเงิน เป็นกระบวนการที่เมื่อลูกค้าสั่งซื้อสินค้าแล้วจะต้องไปทำการชำระเงิน สามารถอธิบายข้อมูลเข้าและออกจาก Process ดังต่อไปนี้
- เมื่อลูกค้าต้องการชำระเงินจะทำการส่งรหัสลูกค้าและเลขที่ใบสั่งซื้อเข้าสู่ระบบ จากนั้น Process จะทำการดึงข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลการสั่งซื้อ ข้อมูลลูกค้าและข้อมูลการชำระเงินมาทำการประมวลผล เมื่อประมวลผลเสร็จเรียบร้อยระบบจะทำการส่งข้อมูลการชำระเงินไปจัดเก็บที่แฟ้มข้อมูลการชำระเงินและส่งใบเสร็จรับเงินให้กับลูกค้า

5. Process 5 พิมพ์รายงาน เป็นระบบการขายที่จัดการข้อมูลเกี่ยวกับรายงานต่าง ๆ สามารถอธิบายข้อมูลเข้าและออกจาก Process ดังต่อไปนี้
- เมื่อผู้จัดการต้องการพิมพ์รายงานผู้จัดการจะทำการเลือกรายงานจากระบบจากนั้น Process จะทำการดึงข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลลูกค้า โดยแฟ้มข้อมูลสินค้า แฟ้มข้อมูลการสั่งซื้อ แฟ้มข้อมูลการชำระเงินมาทำการประมวลผล เมื่อประมวลผลเสร็จเรียบร้อยระบบจะทำการส่งรายงานให้กับผู้จัดการ


อธิบาย DFD LEVEL 1 Of Process 1

Process 1 ปรับปรุงแฟ้มข้อมูลหลักมีขั้นตอนการทำงานย่อยภายในทั้งหมด 3 ขั้นตอนหรือ 3 Process ดังนี้
1. Process 1.1 เลือกรายการและตรวจสอบรายการที่ต้องการปรับปรุง เป็นขั้นตอนการเลือกรายการและตรวจสอบรายการ
- Process จะทำการดึงข้อมูลลูกค้าจากแฟ้มข้อมูลลูกค้าและดึงข้อมูลสินค้าจากแฟ้มข้อมูลสินค้ามาทำการประมวลผลเพื่อตรวจสอบรายการ

2. Process 1.2 แสดงข้อมูลเป็นขั้นตอนการแสดงข้อมูล
- Process จะทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 1.1 มาทำการแสดงข้อมูล

3. Process 1.3 บันทึกข้อมูลที่ปรับปรุงแล้วเป็นขั้นตอนที่ทำการบันทึกข้อมูลที่ผ่านการปรับปรุงเรียบร้อย
- Process จะทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 1.2 นำมาประมวลผลจากนั้นจะทำการบันทึกข้อมูลไปยังแฟ้มข้อมูลสินค้า แฟ้มข้อมูลลูกค้า และจะส่งข้อมูลที่ผ่านการปรับปรุงไปให้กับพนักงาน



อธิบาย DFD LEVEL 1 Of Process 2

Process 2 สืบค้นข้อมูลมีขั้นตอนการทำงานย่อยภายในทั้งหมด 2 ขั้นตอนหรือ 2 Process ดังนี้

1. Process 2.1 ตรวจสอบรายการสินค้าเป็นขั้นคอนการตรวจสอบรายการสินค้าที่ต้องการ
- Process จะทำการดึงข้อมูลสินค้าจากแฟ้มข้อมูลสินค้ามาทำการประมวลผลเพื่อตรวจสอบรายการสินค้า

2. Process 2.2 แสดงรายละเอียดสินค้าเป็นขั้นตอนการแสดงผลการค้นหาข้อมูลสินค้า
- Process จะทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 2.1 มาทำการประมวลผลเพื่อแสดงข้อมูลสินค้าหรือรายการที่ลูกค้าต้องการค้นหาให้กับลูกค้า




อธิบาย DFD LEVEL 1 Of Process 3

Process 3 สั่งซื้อสินค้าเป็นขั้นตอนที่ลูกค้าทำการสั่งซื้อสินค้า มีขั้นตอนการทำงานย่อยภายในทั้งหมด 5 ขั้นตอนหรือ 5 Process ดังนี้

1. Process 3.1 ตรวจสอบข้อมูล เป็นขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ
- Process จะทำการดึงข้อมูลลูกค้า ข้อมูลสินค้า ข้อมูลการชำระเงิน ข้อมูลการสั่งซื้อจากแฟ้มข้อมูลดังกล่าวมาทำการประมวลผลเพื่อทำการตรวจสอบข้อมูล

2. Process 3.2 เลือกรายการสินค้าเป็นขั้นตอนการเลือกสินค้าที่ต้องการสั่งซื้อ
- Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 3.1 มาทำการประมวลผลเพื่อทำการเลือกรายการสินค้า

3. Process 3.3 แสดงรายละเอียดเป็นขั้นตอนที่ระบบจะทำการแสดงผลเพื่อแสดงรายละเอียด
- Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 3.2 มาทำการประมวลผลเพื่อแสดงรายละเอียดไปให้กับลูกค้า

4. Process 3.4 ยืนยันการสั่งซื้อเป็นขั้นตอนการทำการยืนยันการสั่งซื้อของลุกค้า
- Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 3.3 มาทำการประมวลผลเพื่อให้ลูกค้ายืนยันการสั่งซื้อ

5. Process 3.5 บันทึกเป็นขั้นตอนการจัดเก็บข้อมูลการสั่งซื้อของลุกค้า
- Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 3.4 มาทำการประมวลผลเพื่อบันทึกข้อมูลการสั่งซื้อของลูกค้าไปจัดเก็บที่แฟ้มข้อมูล
การสั่งซื้อและส่งใบสั่งซื้อให้กับลูกค้า


อธิบาย DFD LEVEL 1 Of Process 4

Process 4 ชำระเงินเป็นขั้นตอนการชำระเงินของลูกค้า ที่ทำการสั่งซื้อสินค้า มีขั้นตอนการทำงานย่อยภายในทั้งหมด 7 ขั้นตอน หรือ 7 Process ดังนี้

1. Process 4.1 ตรวจสอบรหัส/เลขที่ใบสั่งซื้อเป็นขั้นตอนการตรวจสอบรหัสและเลขที่ใบสั่งซื้อ
- Process ทำการรับรหัสลูกค้า เลขที่ใบสั่งซื้อจากลูกค้าและทำการดึงข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลการสั่งซื้อมาทำการประมวลผลเพื่อตรวจสอบรหัส/ใบสั่งซื้อ

2. Process 4.2 ตรวจสอบเงื่อนไขการชำระเงิน เป็นขั้นตอนการตรวจสอบเงือนไขที่เกี่ยวกับการชำระเงิน
- Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 4.1 และทำการดึงข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลการชำระเงินมาทำการประมวลผลเพื่อทำการตรวจสอบเงื่อนไข

3. Process 4.3 แสดงรายละเอียดเป็นขั้นตอนการแสดงรายละเอียดการชำระเงิน
- Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 4.2 มาทำการประมวลผลเพื่อแสดงรายละเอียดการชำระเงินให้กับลูกค้า

4. Process 4.4 เลือกการชำระเงินเป็นขั้นตอนที่ลูกค้าจะต้องทำการเลือกเงื่อนไขในการชำระเงิน
- Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 4.3 มาทำการประมวลผลเพื่อให้ลูกค้าทำการเลือกการชำระเงิน

5. Process 4.5 ยืนยันการชำระเงินเป็นขั้นตอนที่ลูกค้าจะต้องทำการยืนยันการชำระเงิน
- Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 4.4 มาทำการประมวลผลเพื่อให้ลูกค้าทำการยืนยันการชำระเงินที่เกิดจากการสั่งซื้อสินค้า

6. Process 4.6 บันทึกเป็นขั้นตอนที่ลูกค้าต้องการทำบันทึกข้อมูล
- Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 4.5 มาทำการประมวลผลเพื่อบันทึกข้อมูลการชำระเงินของลูกค้า

7. Process 4.7 พิมพ์เป็นขั้นตอนที่ลูกค้าจะทำการพิมพ์รายงานที่ต้องการออกมา
- Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 4.6 มาทำการประมวลผลเพื่อพิมพ์ใบเสร็จรับเงินให้กับลูกค้า



อธิบาย DFD LEVEL 1 Of Process 5

Process 5 พิมพ์รายงานมีขั้นตอนการทำงานย่อยภายในทั้งหมด 2 ขั้นตอน หรือ 2 Process ดังนี้

1. Process 5.1 ตรวจสอบข้อมูลเป็นขั้นตอนที่ทำการตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ
- Process ทำการรับข้อมูลจากผู้จัดการแล้ว Process ทำการดึงข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลสินค้า แฟ้มข้อมูลลูกค้า แฟ้มข้อมูลการชำระเงิน แฟ้มข้อมูลการสั่งซื้อ มาทำการประมวลผลเพื่อทำการตรวจสอบข้อมูล

2. Process 5.2 พิมพ์เป็นขั้นตอนการพิมพ์รายงาน
- Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 5.1 มาทำการประมวลผลเพื่อทำการพิมพ์รายงานที่ผู้จัดการต้องการให้กับผู้จัดการ


แบบจำลองข้อมูล(Data Modeling)
ขั้นตอนการกำหนดความต้องการของระบบด้วย E-R Diagram
E-R Diagram ของระบบการขาย

นอกจากการจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ(Process Modeling) ด้วยแผ่นภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagrma) ในการกำหนดความต้องการของระบบแล้วยังต้องจำลองข้อมูล(Data Modeling) ทั้งหมดในระบบด้วยแผนภาพแสดงความสัมพัทธ์ระหว่างข้อมูล (Entity Relationship Diagram:E-R Diagram) โดยข้อมูลนั้นมีความหมายรวมทั้งแต่ข้อมูลที่อยู่บนเอกสารหรือรายงานต่าง ๆ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบ ซึ่งแบบจำลองทั้ง 2 ที่แสดงให้เห็นเป็นแบบจำลองของระบบการขาย ซึ่งเป็นระบบใหม่ที่จะนำมาใช้แทนระบบเดิมของบริษัท ส่วนข้อมูลเดิมของบริษัท ในที่นี้ไม่ได้ทำการจำลองแบบไว้ เนื่องจากเป็นการลดขั้นตอนการพัฒนาระบบทำให้ใช้ระยะเวลาน้อยลงนั่นเอง ในระบบการขายสามารถสร้าง E-R Diagram ตามขั้นตอนต่อไปนี้

1. กำหนด Entity ทั้งหมดของระบบ

จากข้อเท็จจริงและสารสนเทศที่รวบรวมได้ในการสัมภาษณ์และการออกแบบสอบถาม สามารถกำหนด Entity ทั้งหมดของระบบการขายได้ดังนี้

1. bekery_cart หมายถึง ตารางเก็บรายละเอียดการสั่งซื้อ(ตะกร้าสินค้า)
2. bekery_order หมายถึง ตารางเก็บรายละเอียดการสั่งซื้อ
3. brand หมายถึง ตารางเก็บรายละเอียดยี้อ้อสินค้า
4. company หมายถึง ตารางเก็บรายละเอียดบริษัท
5. ling หมายถึง ตารางเก็บรายละเอียดข้อมูลการลิงค์
6. member หมายถึง ตารางเก็บรายละเอียดสมาชิก
7. payment หมายถึง ตารางเก็บรายละเอียดการชำระเงิน
8. product หมายถึง ตารางเก็บรายละเอียดข้อมูลสินค้า
9. provin หมายถึง ตารางเก็บรายละเอียดจังหวัด
10. type หมายถึง ตารางเก็บรายละเอียดประเภทของสินค้า



2. สร้าง Relationship ให้กับ Entity
จาก Entity ที่ได้และการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม นำมาเขียนเป็นความสัมพันธ์(Relationship) ระหว่าง Entity ทั้งหมดดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. สินค้า (product) มีความสัมพันธ์กับยี่ห้อ(brand) โดยสินค้ามี (have) ยี่ห้อ



2. บริษัท (company) มีความสัมพันธ์กับ (ling) โดยบริษัทมี (have) ลิงค์



3. สมาชิก (Member) มีความสัมพันธ์กับสินค้า (product) โดยมรการสั่งซื้อ (order) สินค้าในเบื้องต้น



4. สมาชิกมี (Member) มีความสัมพันธ์กับรายละเอียดการชำระเงิน (payment) โดยมีการดู (see) รายละเอียดการชำระเงินโดยสมาชิกในเบื้องต้น



5. สมาชิก (Member) มีความสัมพันธ์กับจังหวัด (provin) โดยสมาชิกมีการอาศัย (live) อยู่ในจังหวัดที่กล่าวมาในเบื้องต้น




6. สินค้า (product) มีความสัมพันธ์กับประเภทของสินค้า (type) โดยสินค้า (have) ประเภทของสินค้า



7. สมาชิก (member) มีคามสัมพันธ์กับรายละเอียดการสั่งซื้อ (book_cart) โดยสมาชิกมีการดู (see) รายละเอียดการสั่งซื้อในเบื้องต้น




8. สมาชิก (member) มีความสัมพันธ์กับรายละเอียดการสั่งซื้อ (book_order) โดยสมาชิกมีการบันทึก (save) รายละเอียดการสั่งซื้อ



9. บริษัท 1 บริษัทสามารถอยู่ในจังหวัดได้เพียง 1 จังหวัด และ จังหวัด 1 จังหวัดสามารถมีบริษัทอาศัยอยู่ได้หลายบริษัท



3. กำหนดเงื่อนไขของความสัมพันธ์ระหว่าง Entity

หลังจากสร้างความสัมพันธ์ให้กับ Entity ต่าง ๆ ของระบบแล้ว ก่อนการกำหนดประเภทความสัมพันธ์จะต้องทราบเงื่อนไข ของความสัมพันธ์เหล่านั้น ซึ่งอาศัยข้อมูลที่รวบรวมมาได้นั่นเอง โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. สินค้า 1ชิ้นสามารถมียี่ห้อได้ 1 ยี่ห้อ แต่ 1 ยี่ห้อสามารถมีสินค้าได้หลายชิ้น
2. บริษัท 1 บริษัทสามารถมี link ได้หลายลิงค์ ลิงค์แต่ละลิงค์จะมีความสัมพันธ์กับบริษัทเพียงบริษัทเดียว
3. สมาชิก 1 คน สามารถซื้อสินค้าได้หลายชิ้น สินค้าแต่ละชิ้นสามารถถูกซื้อโดยสมาชิกหลายคน
4. สมาชิก 1 คน สามารถดูรายละเอียดการชำระเงินได้แค่ของตนเอง
5. สมาชิก 1 คน สามารถอาศัยอยู่ในจังหวัดเพียง 1 จังหวัด และจังหวัด 1 จังหวัดมีสมาชิกได้หลายคน
6. สินค้า 1 ชนิด สามารถจัดอยู่ในประเภทได้เพียง 1 ประเภท และประเภท 1 ประเภทสามารถมีสินค้าได้หลายชนิด
7. สมาชิก 1 คนสามารถดูรายละเอียดการสั่งซื้อได้แค่ของตนเอง
8. สมาชิก 1 คน สามารถบันทึกรายละเอียดการสั่งซื้อได้หลายครั้ง แต่รายละเอียดการสั่งซื้อแต่ละครั้งสามารถถูกบันทึกโดยสมาชิกได้เพียง 1 คน
9. บริษัท 1 บริษัทสามารถอยู่ในจังหวัดได้พียง 1 จังหวัดและจังหวัด1จังหวัดสามารถมีบริษัทอาศัยอยู่ได้หลายบริษัท
จากเงื่อนไขของความสัมพันธ์ข้างต้นนำมากำหนดประเภทความสัมพันธ์ (Relationship)



4. กำหนด Attrubute และ Primarykey

จากการรวบรวมความต้องการของระบบใหม่ การขายและการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากแหล่งเอกสารที่มีอยู่แล้วของบริษัท จึงได้นำมากำหนด Attribute เพื่อกำหนดเป็นคุณลักษณ์ของ Entity ทุก Entity และแสดง Primarykey ด้วยการขีดเส้นใต้ดังต่อไปนี้




Read More

CDMA

CDMA (Code Division Multiple Access)
เป็นรูปแบบของเทคโนโลยีการสื่อสารอีกประเภทหนึ่งที่มีให้บริการอย่างแพร่ หลาย ได้รับการคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท Qualcomm ระบบ CDMA จะทำงานโดยการแปลงคลื่นเสียงไปเป็นข้อมูลแบบดิจิตอล และถูกนำไปเข้ารหัสเฉพาะสำหรับการใช้งานในแต่ละครั้ง ซึ่งทำให้ระบบ CDMA นั้นสามารถรองรับการใช้งานจากเครื่องลูกข่ายได้ในจำนวนมาก ในระบบ CDMA นั้นยังแบ่งเทคโนโลยีออกไปได้หลายแบบ อาทิเช่น CDMA One (IS-95A และ IS-95B), CDMA 2000 1x และ CDMA 2000 1xEVCDMA 2000 1xเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาจาก CDMA เดิม โดยได้เพิ่มความสามารถในด้านการรองรับการใช้งานโทรศัพท์ และการรับส่งข้อมูลให้มีความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 153 kbps ทำให้สามารถใช้งานมัลติมีเดียได้สะดวกมากขึ้น
CDMA 2000 1xEVเป็นอีกเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาจาก CDMA 2000 1x เดิมโดยได้แบ่งออกเป็นสองแบบคือ CDMA 2000 1xEV-DO หรือ Data Optimized ซึ่งเป็นการพัฒนาความสามารถในด้านการใช้งานรับส่งข้อมูลให้มีความเร็วสูง ขึ้นถึง 2.4 Mbps
และอีกแบบหนึ่งคือ CDMA 2000 1xEV-DV หรือ Data and Voice ซึ่งเป็นการพัฒนาให้รองรับทั้งการใช้งานเสียงและข้อมูลที่ดียิ่งขึ้น

พื้นฐานของ CDMA มีลักษณะการทำงานแบบกระจายแถบความถี่ (spread-spectrum) โดยประวัติความเป็นมาของ CDMA นั้นเกิดขึ้นมาตั้งแต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีการกระจายความถี่ขึ้นมาเพื่อใช้ในระบบสื่อสารทางการทหาร ระบบเรดาร์ และระบบนำทางของกองทัพ โดยกองทัพสหรัฐให้ความสำคัญในการพัฒนาและนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้เรื่อยมา โดยคุณสมบัติพิเศษที่สำคัญของ CDMA คือ มีความปลอดภัยสูง ทำให้ไม่สามารถแทรกแซงสัญญาณเพื่อดักฟังได้เลย
ด้วยเหตุนี้กองทัพสหรัฐจึงใช้เทคโนโลยีการส่งสัญญาณแบบกระจายแถบความถี่ผ่านระบบดาวเทียมมาเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว
หลายสิบปีที่ผ่านมาเทคโนโลยี CDMA ถูกพัฒนาเรื่อยมา โดยเฉพาะทางควอลคอมม์ (Qualcomm) ถือเป็นแกนนำหลักในการนำเอา CDMA มาใช้สำหรับการสื่อสารเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจาก CDMA สามารถใช้ช่องสัญญาณความถี่วิทยุที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับระบบเดิมอย่าง FDMA โดยที่ CDMA นั้นปรากฏโฉมในการบริการเชิงพาณิชย์ครั้งแรกราวปี 1995 ในฐานะที่ เป็นทางเลือกใหม่สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพระบบการสื่อสารซึ่งใช้ ระบบอะนาล็อก เช่น AMPS (เทคโนโลยีที่อยู่บนพื้นฐานของ FDMA)ในขณะนั้น และจนถึงปัจจุบัน CDMA ทั้ง WCDMA และ CDMA 2000 เป็นอนาคตของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 หลังจากที่เรารู้จัก CDMA กันบ้างแล้ว

WCDMA และ CDMA 2000
ตามทฤษฎีนั้น WCDMAจะมีประสิทธิภาพในการสื่อสาร รับส่งสัญญาณทั้ง เสียง, ภาพ และข้อมูลด้วยความเร็วสูงถึง 2 Mbps ขึ้นไป แม้ว่าการให้บริการในปัจจุบันของผู้ให้บริการในต่างประเทศความเร็วเฉลี่ยจะอยู่ที่ 384-512 Kbps และผู้ให้บริการบางรายก็อ้างว่าการให้บริการอาจจะถูกเพิ่มความเร็วขึ้นไปถึงระดับ 10 Mbps เลยทีเดียว พื้นฐานของ WCDMA นั้นสัญญาณขาเข้าจะถูกแปรเป็นสัญญาณดิจิตอล และส่งไปเป็นรหัสผ่านแถบคลื่นสัญญาณกระจายไปสู่คลื่นความถี่ต่างๆ เทคโนโลยีนี้จะใช้แถบคลื่นสัญญาณกว้าง 5 MHz ซึ่งต่างจากเทคโนโลยี CDMA ในย่านความถี่แถบอื่นๆ ที่ใช้ช่องสัญญาณที่ 1.25 MHz ด้วยการใช้แถบสัญญาณที่กว้าง (wideband) ทำให้ WCDMA ส่งข้อมูลได้มากกว่า และต้องถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลัง 3G UMTS เลยก็ว่าได้ (Universal Mobile Telecommunications System) นอกจากนี้แล้วตัวเทคโนโลยี WCDMA เองก็เหมาะกับการใช้งานในเมืองที่มีความหนาแน่นสูง อย่างในเอเชียหรือยุโรป NTT DoCoMo ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นเป็นผู้ให้บริการรายแรกที่เปิดให้บริการ WCDMA ในเชิงพาณิชย์ ในปี 2001 จนในปัจจุบันมีผู้ให้บริการถึงกว่า 60 ประเทศทั่วโลก

UMTS (WCDMA) นั้นถูกต่อยอดด้วยเทคโนโลยี HSPA (High-Speed Packet Access) อันเป็นโพรโตคอลทางโทรศัพท์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเพิ่มความสามารถในการส่งข้อมูล HSPA โดยมีสองมาตรฐานคือ HSDPA (High Speed Downlink Packet Access) และ HSUPA (High Speed Uplink Packet Access) แต่เฉพาะ HSDPA เท่านั้นที่ถูกนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากปกติแล้วผู้ใช้งานเน้นไปทางดาว์นโหลดมากกว่า
ปัจจุบัน HSDPA รองรับการส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงถึง 1.8 – 14.4 Mbps มีผู้ให้บริการ HSDPA ในต่างประเทศบางรายให้บริการดาว์นโหลดข้อมูลสูงถึง 30 GB ต่อเดือน หรือ 300 นาทีของโทรทัศน์ผ่านโทรศัพท์มือถือ และ HSDPA ยังถูกพัฒนาต่อไปเป็น HSPA Evolved ที่สามารถส่งข้อมูลได้ถึง 42 Mbps

อนาคตของ HSPA จะถูกพัฒนาไปเป็น HSOPA ที่สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วในการดาวน์โหลดสูงถึง 100 Mbps และอัพโหลด 50 Mbps หรือที่เรียกว่า Super 3G แต่ HSOPA ไม่ได้ใช้เทคโนโลยี WCDMA
เราข้ามมาดูรายละเอียดทางฝั่ง CDMA2000 กันบ้าง CDMA 2000 ในปัจจุบันมีให้บริการอยู่ 2 มาตรฐานคือ CDMA2000 1x และ 1x EVDO เทคโนโลยี CDMA2000 1x รองรับให้การบริการทั้งทางเสียงและข้อมูลเหมือนกับ WCDMA แต่อาศัยแถบความถี่ที่เล็กกว่าขนาด 1.25 MHz ที่แยกจากกัน เพื่อรับ-ส่งสัญญาณเสียงและข้อมูลแบบแพ็กเกจ (Packet) ซึ่งจะส่งผลให้ระบบมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดียิ่งขึ้น ทำให้การดูแลระบบทำได้ง่าย ลดความยุ่งยากในการปรับสมดุลในการกระจายการทำงาน (load balancing) นอกจากนี้ CDMA2000 1x นั้นถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากกว่าระบบ cdmaOne โดยรองรับผู้ใช้บริการได้มากกว่าถึง 2 เท่า และมากกว่าเทคโนโลยี GSM หลายเท่าตัว แอพพลิเคชันของ CDMA2000 1x นั้นนอกจากเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่แล้ว ยังถูกนำไปให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย, บริการมัลติมีเดีย และบริการ ข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เนื่องจากสามารถส่งความเร็วที่สูงกว่าระบบอื่น ๆ สามารถให้บริการข้อมูลไร้สายด้วยความเร็วเฉลี่ย 50 - 90 Kbps โดยมีอัตราสูงสุดถึง 153 Kbps ปัจจุบันมีโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์สื่อสารระบบ CDMA2000 1x มากกว่า 600 รุ่น มาจากหลายค่ายทั้ง พานาโซนิค ซัมซุง ซันโย อีริคสัน โมโตโรล่า แอลจี เคียวเซร่า โนเกีย และเซียร์ร่า ไวล์เลส เป็นต้น

ก้าวกระโดดสู่มาตรฐานความเร็วในอนาคต
อย่างที่ท่านผู้อ่านทราบกันดีอยู่แล้วว่าผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สายในบ้านเรานั้นมีรายใหญ่ๆ อยู่ไม่กี่รายและเทคโนโลยีจริงๆ ที่ครองตลาดตอนนี้ก็คือ GSM และ CDMA ซึ่งอย่างหลังนี้ก็มีบ้างแต่ฐานลูกค้าไม่ใหญ่มากนัก เราลองมาดูกันที่ GSM ก่อนว่าผู้ให้บริการอย่าง AIS, DTAC และ TrueMove มีแนวคิดและการให้บริการอย่างไรบ้าง!
เริ่มจากขาใหญ่อย่าง AIS ที่มีแผนงานขยายเครือข่ายปี 2550 ด้วยงบลงทุนกว่า 20,000 ล้านบาท ทั้งวอยซ์และดาต้าโดยมีแผนติดตั้งเครือข่าย EDGE ให้ครอบคลุมทั้ง 76 จังหวัดทั่วไทย และเพิ่มความเร็วในการใช้งานอีก 5 เท่าทางทฤษฎี โดยส่วนตัวแล้วผมว่า AIS ใช้ความพยายามในการปิดจุดบอดในเรื่องของการรับส่งข้อมูลที่ก่อนหน้านี้เป็นที่รู้กันสำหรับผู้คนในวงการว่า GPRS เดิมของ AIS นั้นช้ามากๆ แต่เมื่อมีการพัฒนาโครงข่ายใหม่ในปีนี้ EDGE ของ AIS ก็เป็นที่น่าจับตามองทีเดียว ด้วยฐานลูกค้ากว่า 20 ล้านเลขหมาย แต่อย่างไรก็ดีปัญหาดั้งเดิมของ AIS ส่วนหนึ่งคือความเร็วของอินเทอร์เน็ตที่ถูกนำมาต่อเข้ากับเครือข่ายเป็นเรื่องที่ผมอยากจะให้ทาง AIS พิจารณา
ส่วน DTAC นั้นเป็นเจ้าตลาดทาง GPRS/EDGE อยู่แล้ว ด้วยความเร็วที่บางท่านเคยทำได้ถึง 105 Kbps เลยทีเดียว แม้ว่าข้อมูลจากค่าย DTAC บอกว่าอาจจะทำได้ถึง 236 Kbps แต่ข้อจำกัดของ DTAC คือสามารถใช้ EDGE ได้เฉพาะกรุงเทพฯ ด้านใน และบางจุดที่สำคัญอีกเล็กน้อย เช่น ชลบุรี ธรรมศาสตร์รังสิต
ส่วนทางค่าย TrueMove นั้นไม่หวือหวาในการให้บริการข้อมูลบนเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เท่าที่ผมได้ทดลองใช้ของ TrueMove มาบ้าง ความเร็วที่ได้รับนั้นประมาณ GRPS ปกติครับ และผมได้ข่าวมาว่าผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอย่าง CS LOXINFO กำลังจะกระโดดเข้ามาในตลาด GPRS/EDGE เช่นกัน โดยจะอาศัยความได้เปรียบที่เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ก่อนแล้ว

Read More

วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ADSL

ADSL คือ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์แบบเดิม แต่ใช้การส่งด้วยความถี่สูงกว่า ระบบโทรศัพท์แบบเดิม โดยชุมสายโทรศัพท์ที่ให้บริการหมายเลข ADSL จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ คือ DSL Access Modulเพื่อทำการแยกสัญญาณความถี่สูงนี้ออกจากระบบโทรศัพท์เดิม และลัดเข้าเชื่อมต่อกับ อินเทอร์เน็ตโดยตรง ส่วนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องมี ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Loop) Modem ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์
ความรู้เกี่ยวกับ ADSL เบื้องต้น

ADSL มาจากคำว่า Asymmetric Digital Subscriber Line เป็นเทคโนโลยีของ Modem แบบใหม่ ที่เปลี่ยนโฉมหน้าของสายโทรศัพท์ที่ทำจากลวดทองแดง ให้เป็นเส้นสัญญาณนำส่งข้อมูลความเร็วสูง โดย ADSL สามารถจัดส่งข้อมูลจากผู้ให้บริการด้วยความเร็วมากกว่า 6 Mbps ไปยังผู้รับบริการ หมายความว่า ผู้ใช้บริการสามารถ Download ข้อมูลด้วยความเร็วสูงมากกว่า 6 Mbps ขึ้นไปจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือผู้ให้บริการข้อมูลทั่วไป (ส่วนจะได้ความเร็ว กว่า 6 Mbps หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ รวมทั้งระยะทางการเชื่อมต่ออีกด้วย) ความเร็วขณะนี้ มากเพียงพอสำหรับงานต่างๆ ดังต่อไปนี้
• งาน Access เครือข่าย อินเทอร์เน็ต
• การให้บริการแพร่ภาพ Video เมื่อร้องขอ (Video On Demand)
• ระบบเครือข่าย LAN
• การสื่อสารข้อมูลระหว่างสถานที่ทำงานกับบ้าน (Telecommuting)
ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL มีหลากหลาย ตั้งแต่ความเร็วที่ 64/128 Kbps (อัพโหลด ที่ 64 Kbps และ ดาวน์โหลด ที่ 128 Kbps) หรือ 128/256 Kbps (อัพโหลด ที่ 128 Kbps และ ดาวน์โหลด ที่ 256 Kbps) ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้บริการคะ ส่วนผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL เช่น TRUE Loxinfo, KSC, CS Internet, Anet, Samart, JI-Net ฯลฯ

อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลบน ADSL
ADSL ที่ว่าทำงานเร็ว นั้นเร็วเท่าใดกันแน่ ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจก่อนว่า ADSL มีอัตราความเร็วขึ้นอยู่กับชนิด ดังนี้
• Full-Rate ADSL เป็น ADSL ที่มีศักยภาพในการส่งถ่ายข้อมูลข่าวสาร ที่ความเร็ว 8 เมกกะบิต ต่อวินาที
• G.Lite ADSL เป็น ADSL ที่สามารถส่งถ่ายข้อมูลข่าวสารได้สูงถึง 1.5 เมกกะบิตต่อวินาที ขณะที่กำลัง Download ความเร็วขนาดนี้ คิดเป็น 25 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้ Modem แบบ Analog ขนาด 56K และคิดเป็น 50 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้ Modem ความเร็ว 28.8K
• ผู้ให้บริการ ADSL สามารถให้บริการ ที่ความเร็วต่ำขนาด 256K ด้วยค่าใช้จ่ายต่ำ
อัตราความเร็วขึ้นอยู่กับ ระดับของการให้บริการ จากผู้ให้บริการ โดยปกติแล้ว Modem ที่เป็นระบบ ADSL สามารถ Download ข้อมูลได้ที่ความเร็ว 256 กิโลบิตต่อวินาที ไปจนถึง 8 เมกกะบิตต่อวินาที นอกจากนี้ มาตรฐาน G.lite ที่กำลังจะมาใหม่ สามารถให้บริการที่อัตราความเร็วเป็น 1.5 เมกกะบิตต่อวินาที
ADSL สามารถทำงานที่ Interactive Mode หมายความว่า ที่ Mode การทำงานนี้ ADSL สามารถให้บริการรับส่งข้อมูล ที่ความเร็วมากกว่า 640 Kbps พร้อมกันทั้งขาไปและขากลับ

ประโยชน์จากการใช้บริการ ADSL • ท่านสามารถคุยโทรศัพท์พร้อมกันกับการ Access ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้พร้อมกัน ด้วยสายโทรศัพท์เส้นเดียวกัน โดยไม่หยุดชะงัก
• ท่านสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วเป็น 140 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้ Modem แบบ Analog ธรรมดา
• การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของท่านจะถูกเปิดอยู่เสมอ (Always-On Access) ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากการส่งถ่ายข้อมูลถูกแยกออกจากการ เรียกเข้ามาของ Voice หรือ FAX ดังนั้นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของท่านจะไม่ถูกกระทบกระเทือนแต่อย่างใด
• ไม่มีปัญหาเนื่องสายไม่ว่าง ไม่ต้อง Log On หรือ Log off ให้ยุ่งยากอีกต่อไป
• ADSL ไม่เหมือนกับการให้บริการของ Cable Modem ตรงที่ ADSL จะทำให้ท่านมีสายสัญญาณพิเศษเฉพาะเพื่อเชื่อมต่อกับ อินเทอร์เน็ต ขณะที่ Cable Modem เป็นการ Share ใช้สายสัญญาณกับผู้ใช้คนอื่นๆ ที่อาจเป็นเพื่อนบ้านของท่าน
• ที่สำคัญ Bandwidth การใช้งานของท่านจะมีขนาดคงที่ (ตามอัตราที่ท่านเลือกใช้บริการอยู่เสมอ) ขณะที่ขนาดของ Bandwidth ของการเข้ารับบริการ Cable Modemหรือการใช้บริการ อินเทอร์เน็ตปกติของท่าน จะถูกบั่นทอนลงตามปริมาณการใช้งาน อินเทอร์เน็ตโดยรวม หรือการใช้สาย Cable Modem ของเพื่อนบ้านท่าน
• สายสัญญาณที่ผู้ให้บริการ ADSL สำหรับท่านนั้น เป็นสายสัญญาณอิสระไม่ต้องไป Share ใช้งานกับใคร ด้วยเหตุนี้ จึงมีความน่าเชื่อถือ และมีความปลอดภัยสูง

ขีดความสามารถของ ADSL
เทคโนโลยีของ ADSL เป็นแบบ Asymmetric มันจะให้ Bandwidth การทำงานที่ Downstream จากผู้ให้บริการ ADSL ไปยังผู้รับบริการสูงกว่า Upstream ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลจากผู้ใช้บริการหรือลูกค้า ไปยังผู้ให้บริการ

Read More