CLOCK

Search

วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553

CDMA

CDMA (Code Division Multiple Access)
เป็นรูปแบบของเทคโนโลยีการสื่อสารอีกประเภทหนึ่งที่มีให้บริการอย่างแพร่ หลาย ได้รับการคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท Qualcomm ระบบ CDMA จะทำงานโดยการแปลงคลื่นเสียงไปเป็นข้อมูลแบบดิจิตอล และถูกนำไปเข้ารหัสเฉพาะสำหรับการใช้งานในแต่ละครั้ง ซึ่งทำให้ระบบ CDMA นั้นสามารถรองรับการใช้งานจากเครื่องลูกข่ายได้ในจำนวนมาก ในระบบ CDMA นั้นยังแบ่งเทคโนโลยีออกไปได้หลายแบบ อาทิเช่น CDMA One (IS-95A และ IS-95B), CDMA 2000 1x และ CDMA 2000 1xEVCDMA 2000 1xเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาจาก CDMA เดิม โดยได้เพิ่มความสามารถในด้านการรองรับการใช้งานโทรศัพท์ และการรับส่งข้อมูลให้มีความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 153 kbps ทำให้สามารถใช้งานมัลติมีเดียได้สะดวกมากขึ้น
CDMA 2000 1xEVเป็นอีกเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาจาก CDMA 2000 1x เดิมโดยได้แบ่งออกเป็นสองแบบคือ CDMA 2000 1xEV-DO หรือ Data Optimized ซึ่งเป็นการพัฒนาความสามารถในด้านการใช้งานรับส่งข้อมูลให้มีความเร็วสูง ขึ้นถึง 2.4 Mbps
และอีกแบบหนึ่งคือ CDMA 2000 1xEV-DV หรือ Data and Voice ซึ่งเป็นการพัฒนาให้รองรับทั้งการใช้งานเสียงและข้อมูลที่ดียิ่งขึ้น

พื้นฐานของ CDMA มีลักษณะการทำงานแบบกระจายแถบความถี่ (spread-spectrum) โดยประวัติความเป็นมาของ CDMA นั้นเกิดขึ้นมาตั้งแต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีการกระจายความถี่ขึ้นมาเพื่อใช้ในระบบสื่อสารทางการทหาร ระบบเรดาร์ และระบบนำทางของกองทัพ โดยกองทัพสหรัฐให้ความสำคัญในการพัฒนาและนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้เรื่อยมา โดยคุณสมบัติพิเศษที่สำคัญของ CDMA คือ มีความปลอดภัยสูง ทำให้ไม่สามารถแทรกแซงสัญญาณเพื่อดักฟังได้เลย
ด้วยเหตุนี้กองทัพสหรัฐจึงใช้เทคโนโลยีการส่งสัญญาณแบบกระจายแถบความถี่ผ่านระบบดาวเทียมมาเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว
หลายสิบปีที่ผ่านมาเทคโนโลยี CDMA ถูกพัฒนาเรื่อยมา โดยเฉพาะทางควอลคอมม์ (Qualcomm) ถือเป็นแกนนำหลักในการนำเอา CDMA มาใช้สำหรับการสื่อสารเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจาก CDMA สามารถใช้ช่องสัญญาณความถี่วิทยุที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับระบบเดิมอย่าง FDMA โดยที่ CDMA นั้นปรากฏโฉมในการบริการเชิงพาณิชย์ครั้งแรกราวปี 1995 ในฐานะที่ เป็นทางเลือกใหม่สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพระบบการสื่อสารซึ่งใช้ ระบบอะนาล็อก เช่น AMPS (เทคโนโลยีที่อยู่บนพื้นฐานของ FDMA)ในขณะนั้น และจนถึงปัจจุบัน CDMA ทั้ง WCDMA และ CDMA 2000 เป็นอนาคตของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 หลังจากที่เรารู้จัก CDMA กันบ้างแล้ว

WCDMA และ CDMA 2000
ตามทฤษฎีนั้น WCDMAจะมีประสิทธิภาพในการสื่อสาร รับส่งสัญญาณทั้ง เสียง, ภาพ และข้อมูลด้วยความเร็วสูงถึง 2 Mbps ขึ้นไป แม้ว่าการให้บริการในปัจจุบันของผู้ให้บริการในต่างประเทศความเร็วเฉลี่ยจะอยู่ที่ 384-512 Kbps และผู้ให้บริการบางรายก็อ้างว่าการให้บริการอาจจะถูกเพิ่มความเร็วขึ้นไปถึงระดับ 10 Mbps เลยทีเดียว พื้นฐานของ WCDMA นั้นสัญญาณขาเข้าจะถูกแปรเป็นสัญญาณดิจิตอล และส่งไปเป็นรหัสผ่านแถบคลื่นสัญญาณกระจายไปสู่คลื่นความถี่ต่างๆ เทคโนโลยีนี้จะใช้แถบคลื่นสัญญาณกว้าง 5 MHz ซึ่งต่างจากเทคโนโลยี CDMA ในย่านความถี่แถบอื่นๆ ที่ใช้ช่องสัญญาณที่ 1.25 MHz ด้วยการใช้แถบสัญญาณที่กว้าง (wideband) ทำให้ WCDMA ส่งข้อมูลได้มากกว่า และต้องถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลัง 3G UMTS เลยก็ว่าได้ (Universal Mobile Telecommunications System) นอกจากนี้แล้วตัวเทคโนโลยี WCDMA เองก็เหมาะกับการใช้งานในเมืองที่มีความหนาแน่นสูง อย่างในเอเชียหรือยุโรป NTT DoCoMo ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นเป็นผู้ให้บริการรายแรกที่เปิดให้บริการ WCDMA ในเชิงพาณิชย์ ในปี 2001 จนในปัจจุบันมีผู้ให้บริการถึงกว่า 60 ประเทศทั่วโลก

UMTS (WCDMA) นั้นถูกต่อยอดด้วยเทคโนโลยี HSPA (High-Speed Packet Access) อันเป็นโพรโตคอลทางโทรศัพท์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเพิ่มความสามารถในการส่งข้อมูล HSPA โดยมีสองมาตรฐานคือ HSDPA (High Speed Downlink Packet Access) และ HSUPA (High Speed Uplink Packet Access) แต่เฉพาะ HSDPA เท่านั้นที่ถูกนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากปกติแล้วผู้ใช้งานเน้นไปทางดาว์นโหลดมากกว่า
ปัจจุบัน HSDPA รองรับการส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงถึง 1.8 – 14.4 Mbps มีผู้ให้บริการ HSDPA ในต่างประเทศบางรายให้บริการดาว์นโหลดข้อมูลสูงถึง 30 GB ต่อเดือน หรือ 300 นาทีของโทรทัศน์ผ่านโทรศัพท์มือถือ และ HSDPA ยังถูกพัฒนาต่อไปเป็น HSPA Evolved ที่สามารถส่งข้อมูลได้ถึง 42 Mbps

อนาคตของ HSPA จะถูกพัฒนาไปเป็น HSOPA ที่สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วในการดาวน์โหลดสูงถึง 100 Mbps และอัพโหลด 50 Mbps หรือที่เรียกว่า Super 3G แต่ HSOPA ไม่ได้ใช้เทคโนโลยี WCDMA
เราข้ามมาดูรายละเอียดทางฝั่ง CDMA2000 กันบ้าง CDMA 2000 ในปัจจุบันมีให้บริการอยู่ 2 มาตรฐานคือ CDMA2000 1x และ 1x EVDO เทคโนโลยี CDMA2000 1x รองรับให้การบริการทั้งทางเสียงและข้อมูลเหมือนกับ WCDMA แต่อาศัยแถบความถี่ที่เล็กกว่าขนาด 1.25 MHz ที่แยกจากกัน เพื่อรับ-ส่งสัญญาณเสียงและข้อมูลแบบแพ็กเกจ (Packet) ซึ่งจะส่งผลให้ระบบมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดียิ่งขึ้น ทำให้การดูแลระบบทำได้ง่าย ลดความยุ่งยากในการปรับสมดุลในการกระจายการทำงาน (load balancing) นอกจากนี้ CDMA2000 1x นั้นถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากกว่าระบบ cdmaOne โดยรองรับผู้ใช้บริการได้มากกว่าถึง 2 เท่า และมากกว่าเทคโนโลยี GSM หลายเท่าตัว แอพพลิเคชันของ CDMA2000 1x นั้นนอกจากเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่แล้ว ยังถูกนำไปให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย, บริการมัลติมีเดีย และบริการ ข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เนื่องจากสามารถส่งความเร็วที่สูงกว่าระบบอื่น ๆ สามารถให้บริการข้อมูลไร้สายด้วยความเร็วเฉลี่ย 50 - 90 Kbps โดยมีอัตราสูงสุดถึง 153 Kbps ปัจจุบันมีโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์สื่อสารระบบ CDMA2000 1x มากกว่า 600 รุ่น มาจากหลายค่ายทั้ง พานาโซนิค ซัมซุง ซันโย อีริคสัน โมโตโรล่า แอลจี เคียวเซร่า โนเกีย และเซียร์ร่า ไวล์เลส เป็นต้น

ก้าวกระโดดสู่มาตรฐานความเร็วในอนาคต
อย่างที่ท่านผู้อ่านทราบกันดีอยู่แล้วว่าผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สายในบ้านเรานั้นมีรายใหญ่ๆ อยู่ไม่กี่รายและเทคโนโลยีจริงๆ ที่ครองตลาดตอนนี้ก็คือ GSM และ CDMA ซึ่งอย่างหลังนี้ก็มีบ้างแต่ฐานลูกค้าไม่ใหญ่มากนัก เราลองมาดูกันที่ GSM ก่อนว่าผู้ให้บริการอย่าง AIS, DTAC และ TrueMove มีแนวคิดและการให้บริการอย่างไรบ้าง!
เริ่มจากขาใหญ่อย่าง AIS ที่มีแผนงานขยายเครือข่ายปี 2550 ด้วยงบลงทุนกว่า 20,000 ล้านบาท ทั้งวอยซ์และดาต้าโดยมีแผนติดตั้งเครือข่าย EDGE ให้ครอบคลุมทั้ง 76 จังหวัดทั่วไทย และเพิ่มความเร็วในการใช้งานอีก 5 เท่าทางทฤษฎี โดยส่วนตัวแล้วผมว่า AIS ใช้ความพยายามในการปิดจุดบอดในเรื่องของการรับส่งข้อมูลที่ก่อนหน้านี้เป็นที่รู้กันสำหรับผู้คนในวงการว่า GPRS เดิมของ AIS นั้นช้ามากๆ แต่เมื่อมีการพัฒนาโครงข่ายใหม่ในปีนี้ EDGE ของ AIS ก็เป็นที่น่าจับตามองทีเดียว ด้วยฐานลูกค้ากว่า 20 ล้านเลขหมาย แต่อย่างไรก็ดีปัญหาดั้งเดิมของ AIS ส่วนหนึ่งคือความเร็วของอินเทอร์เน็ตที่ถูกนำมาต่อเข้ากับเครือข่ายเป็นเรื่องที่ผมอยากจะให้ทาง AIS พิจารณา
ส่วน DTAC นั้นเป็นเจ้าตลาดทาง GPRS/EDGE อยู่แล้ว ด้วยความเร็วที่บางท่านเคยทำได้ถึง 105 Kbps เลยทีเดียว แม้ว่าข้อมูลจากค่าย DTAC บอกว่าอาจจะทำได้ถึง 236 Kbps แต่ข้อจำกัดของ DTAC คือสามารถใช้ EDGE ได้เฉพาะกรุงเทพฯ ด้านใน และบางจุดที่สำคัญอีกเล็กน้อย เช่น ชลบุรี ธรรมศาสตร์รังสิต
ส่วนทางค่าย TrueMove นั้นไม่หวือหวาในการให้บริการข้อมูลบนเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เท่าที่ผมได้ทดลองใช้ของ TrueMove มาบ้าง ความเร็วที่ได้รับนั้นประมาณ GRPS ปกติครับ และผมได้ข่าวมาว่าผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอย่าง CS LOXINFO กำลังจะกระโดดเข้ามาในตลาด GPRS/EDGE เช่นกัน โดยจะอาศัยความได้เปรียบที่เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ก่อนแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น